วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
Posted by phattarawan
พิทูเนีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Petunia hybrida
 วงศ์ : Solanaceae
 ชื่อสามัญ : Petunia
 ชื่ออื่น ๆ : พิทูเนีย
     ข้อมูลทั่วไปและประวัติ
     พิทูเนีย มีถิ่นกำเนิดที่ อเมริกาใต้ ในต่างประเทศเป็นที่นิยมปลูกกันมาก ในอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว (ในอเมริกาไม้ดอกที่นิยมปลูกกันมากที่สุด ได้แก่ พิทูเนีย ดาวเรือง และบานชื่น ) พิทูเนียเป็นไม้หลายฤดู มีความทนทาน มีชีวิตยืนยาว สามารถออกดอกได้หลายชุด
     ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    พิทูเนียเป็นไม้ดอกหลาย ฤดู แต่ในขณะนี้นิยมปลูกพิทูเนียให้เป็นไม้ฤดูเดียว มีพุ่มต้นเตี้ย และค่อนข้างไปทางเลื้อยเป็นไม้เนื้ออ่อนลำต้น สูงประมาณ 30 ซม. ใบคล้ายใบยาสูบ แต่มีขนาดเล็กกว่า ใบกว้างประมาณ 5 ซม. ยาว 8-10 ซม. มีขนอยู่ทั่วใบตามใบ ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกมีรูปร่างเป็นรูปกรวย ดอกมีทั้งชนิดดอกเดี่ยวหรือ ดอกซ้อน กลีบรองดอก แยกเป็น 5 แฉก มีคอดอก ยาว

          ที่มา : natres.psa.ac.th/
Posted by phattarawan
ดอกผีเสื้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dianthus chinensis
 วงศ์ : Caryophyllaceae
 ชื่อสามัญ : Dianthus
 ชื่ออื่น ๆ : Pink, Indian pink, China pink, Rainbow pink, ผีเสื้อ
    ข้อมูลทั่วไปและประวัติ
   ผีเสื้อเป็นไม้ดอกสกุลเดียวกับ คาร์เนชั่น มีดอกสวยงามสะดุดตา โดยมีถิ่นกำเนิดในยุโรปตอนใต้ ส่วนใหญ่มีดอกสีชมพู จึงได้ชื่อว่า pink
ผีเสื้อ กับ คาร์เนชั่น นั้นมีข้อแตกต่างที่พอจะใช้สังเกตได้คือ
 1.ดอกผีเสื้อไม่มีกลิ่น
 2.ใบของผีเสื้อมีแผ่นใบกว้างกว่า ของคาร์เนชั่น
 3.ใบของคาร์เนชั่นมีสีเขียวอมเทาเงิน
   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
   ผีเสื้อ นั้นลักษณะโดยทั่วไป สูงประมาณ 10-15 นิ้ว ขึ้นเป็นพุ่ม ใบมีสีเขียวแก่ ลักษณะใบยาวปลายเรียวแหลม ขอบใบทั้งสองข้างมักจะโค้งเข้าหากลางใบเล็กน้อย ทำให้มีลักษณะคล้ายร่องน้ำ ใบจะออกเป็นคู่แบบสลับ โดยใบจะหุ้มรอบข้อทำให้ส่วนข้อมีลักษณะบวมโต ดอกมีทั้งชนิดดอกซ้อนและดอกชั้นเดียว ปลายกลีบดอกจะมีลักษณะจัก ๆ คล้ายฟันปลาหรือ ฟันเลื่อย กลีบหุ้มดอก มีลักษณะรวมติดกันเป็นกรวยหุ้มกลีบดอกไว้ ดอกมีขนาดตั้งแต่ 2.5-3 นิ้ว สีของดอกมีหลายสี คือ ขาว ชมพู แดง แดงอมม่วง และอาจมีสองสีในดอกเดียวกันก็ได้

       ที่มา : natres.psa.ac.th/
Posted by phattarawan
ลิลลี่
  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lilium spp.
  ข้อมูลทั่วไปและประวัติ
 ลิลี่เป็นดอกไม้เมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดในจีน และตอนเหนือของญี่ปุ่น เป็นไม้ที่มีดอกสวยงามมากจนได้รับสมญานามว่า เป็นดอกไม้ของเจ้าหญิง ลิลี่พันธุ์ที่มีสีขาวบริสุทธิ์นั้นเป็นดอกไม้ที่มีความหมายในเทศกาลอีสเตอร์ช่วงเดือนเมษายน เราจึงเรียกลิลี่ในกลุ่มนี้ว่า อีสเตอร์ลิลี่ หรือ ทรัมเปตลิลี่
  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 ลิลี่เป็นไม้ดอกที่มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน หัวของลิลี่ คือ ส่วนลำต้นที่อัดตัวกันแน่น ประกอบด้วยฐานของหัว ลักษณะเป็นแผ่นแบน ๆ ด้านบนเป็นกลีบเรียงซ้อนกันเป็นชั้นคล้ายกลีบหอมหัวใหญ่ ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหาร ด้านล่างของฐานจะมีรากงอกออกมา หัวของลิลี่จะเจริญเติบโตและเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปีจะสร้างจุดเจริญใหม่ภายในหัว เมื่อหัวพัฒนาเต็มที่และ ได้ผ่านช่วงฤดูหนาวเกิดการทำลายการฟักตัวของหัว ยอดใหญ่จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นเหนือดิน และส่วนยอดะสร้างช่อดอก ซึ่งดอกจะมีกลีบดอก 6 กลีบ แยกออกจากกัน มีเกสรตัวผู้ชูขึ้นอยู่ใจกลางดอก ลิลี่นั้นมีหลายสี มีทั้งสีขาว ชมพู ส้ม แดง ม่วง และมีสองสีในดอกเดียวกัน นอกจากนี้บางพันธุ์ยังมีจุดประบนกลีบดอกอีกด้วยซึ่งได้รับความนิยมมาก ดอกจะบานได้ 2-4 วัน

   ที่มา : natres.psa.ac.th/
Posted by phattarawan
ดอกคาร์เนชั่น
 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dianthus caryophyllus
 วงศ์ : Caryophyllaceae
 ชื่อสามัญ : Carnation
 ชื่ออื่น ๆ : คาร์เนชั่น
    คาร์เนชั่นมีถิ่นกำเนิดในยุโรปตอนใต้ คาร์เนชั่นที่นำเข้าส่วนใหญ่ปลูกในเรือนกระจก
ทั้งสิ้น ใช้ทำเป็นไม้ตัดดอกได้เป็นอย่างดี ให้จำนวนดอกต่อต้นนับเป็นที่ 2 รองจากกุหลาบ 
การปลูกคาร์เนชั่นแต่ละครั้งอาจจะอยู่ได้เพียงฤดูเดียวหรือหลายฤดูก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
สถานที่และการปลูกปฏิบัติรักษา บางแห่งอาจจะปลูกได้เพียงฤดูเดียว บางแห่งอาจจะ
ปลูกแล้วเก็บเกี่ยวได้นานถึง 2 -3 ปี ซึ่งตามปกติแล้วเป็นการปลูกคาร์เนชั่นในเรือนกระจก
   ลักษณะทั่วไป     เป็นไม้ดอกล้มลุก ลำต้นแตกกิ่งก้าน ใบรูปแถบเรียวยาว สีเขียวเข้มอมฟ้า 
โคนใบหุ้มข้อโป่งพองเล็กน้อย ดอกมีทั้งชนิดดอกเดี่ยวและดอกช่อ กลีบรองดอกสีเขียว 
รูปถ้วย กลีบดอกซ้อนฟู ขอบกลีบหยักเป็นแฉก สีขาว ชมพู เหลือง ส้ม แดง และขลิบขอบ
สีต่างๆ ดอกมีทั้งชนิดดอกซ้อนและดอกชั้นเดียว ปลายกลีบดอกจะมีลักษณะหยัก ๆ คล้าย
ฟันเลื่อย กลีบหุ้มดอก มีลักษณะรวมติดกันเป็นกรวยหุ้มกลีบดอกไว้ ดอกมีขนาดตั้งแต่ 
1.5 - 3 นิ้ว สีของดอกมีหลายสี คือ ขาว แดง แดงอมอม่วง และอาจจะมี 2 สีในดอกเดียวกัน

     ที่มา: student.nu.ac.th/sanqtawan/ดอกคาร์เนชั่น.html
Posted by phattarawan
ชมพูภูคา

   ชมพูภูคา:ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bretschneidera sinensis Hemsl.: ชื่อวงศ์ : BRETSCHNEIDERACEAE 
   ชมพูภูคา เป็นพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ที่มีดอกสีชมพูอมขาวงดงาม ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้ ชมพูภูคา เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  ชมพูภูคา เป็นไม้ต้นสูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกเรียบสีเทา ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ยาว 30-80 เซนติเมตร ใบย่อยไม่มีก้านใบ รูปหอกถึงรูปไข่ กว้าง 2.5-6 เซนติเมตร ยาว 8-25 เซนติเมตร โคนใบมนไม่เท่ากัน ปลายใบแหลม ดอก สีชมพู คล้ายรูประฆัง ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร กลีบรองดอกขนาดใหญ่ รูปถ้วยขอบหยักตื้นๆ กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กว้าง โคนกลีบเรียวยาว ปลายกลีบม้วนออกด้านนอก ขนาด 1.8-2 เซนติเมตร กลีบบนมักคว่ำลง เกสรผู้ 8 อัน ผล รูปกระสวย แก่แล้วแตก เมล็ด รูปรี กว้าง 12 มิลลิเมตร ยาว 20 มิลลิเมตร ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,980 เมตร ดอยภูคานับเป็นยอดดอยที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของเทือกเขาหลวงพระบางและเป็นยอดดอยที่สูงในลำดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งจากสภาพดังกล่าวนี้ทำให้เทือกดอยภูคา มีลักษณะโดดเด่น ในด้านระบบนิเวศของพืชพรรณภูเขาสูงอันอุดมไปด้วยป่าดงดิบเขา ป่าดงดิบชื้น รวมทั้งป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง อีกทั้งเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำน่านอีกด้วย พันธุ์ไม้ที่สำคัญที่สุดและพบเพียงแห่งเดียวในโลกที่นี่คือ ชมพูภูคา ซึ่งเป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย และเป็นพันธุ์ไม้หายาก ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก โดยเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา มีรายงานว่าพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ ที่มณฑลยูนานประเทศจีน แต่ปัจจุบันคาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว
     สำหรับในประเทศไทยมีรายงานการสำรวจพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้เมื่อมี พ.ศ. 2532 บริเวณป่าดงดิบเขาดอยภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยลักษณะต้นชมพูภูคานี้จะสูงประมาณ 25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 50 เซนติเมตร เปลือกเรียบเป็นสีเทา ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวมีใบย่อยรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบแหลมยาว แผ่นใบด้านล่างมีนวลสีขาว ช่อดอกตั้งตรงแยกแขนงออกตามปลายกิ่งกลีบเลี้ยงติดกันคล้ายรูประฆัง กลีบดอกสีชมพูมีริ้วสีแดง ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลคล้ายมะกอกแต่มีขนาดใหญ่กว่า พันธุ์ไม้ชนิดนี้จากการศึกษาพบว่าจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณป่าดงดิบเขาตามไหล่เขาสูงชันที่มีความสูงตั้งแต่ 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป และมีความชื้นของอากาศสูงอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างต่ำตลอดทั่งปี ปัจจุบันได้มีการทดลองเพาะกล้าไม้ชมพูภูคาจากเมล็ดเป็นผลสำเร็จซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ชมพูภูคาไม่สูญพันธุ์จากโลกนี้ต่อไป
     ชมพูภูคา พันธุ์ไม้ใกล้สูญพันธุ์ของโลก ซึ่งพบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน

     ที่มา: www.oceansmile.com/n/nan/chophuphuka.th
วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
Posted by phattarawan
เทียนนกแก้ว
   เทียนนกแก้ว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Impatiens psittacina; อังกฤษ: parrot flower) อยู่ในวงศ์ Balsaminaceae อันดับ Ericales เป็นดอกไม้ที่แปลกตามาก เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นของไทย หาไม่ได้จากที่ใด ๆ ในโลก จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับวงศ์เทียน มีรูปทรงของดอกที่สวยงามเหมือนนกแก้วที่โดนแมวกัดไปครึ่งตัว เราเรียกชื่อตามลักษณะรูปทรงว่า ดอกเทียนนกแก้ว จัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุกและเป็นพรรณไม้เมืองหนาว
         ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้นอวบน้ำ สูง 0.5-1.5 เมตร ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี สูง 30-150 ซม. ลำต้นกลวงและเป็นข้อปล้อง แตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นอ่อนสีม่วงอมแดงและอวบน้ำ ลำต้นแก่สีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่  ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้นเป็นเกลียว รูปใบหอก หรือรูปไข่กว้าง กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-6 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นหนามแหลมสั้น โคนใบมน ผิวใบเรียบ ออกดอกเดี่ยวตามก้านใบและปลายยอด ดอกมีรูปร่างคล้ายนกแก้วกำลังกางปีกบินดูสวยงามสะดุดตา ขนาดดอก 2-3 ซม. ดอกสีม่วงแกมแดงและขาว หรือสีชมพูเข้มแกมแดงและขาว กลางดอกมีแต้มสีเหลือง ดอกเป็นรูปหลอดกว้าง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สีชมพูอมขาวและมีจุดประสีม่วงแดง กลีบบนรูปขอบขนานมีขนาดยาวที่สุด ปลายกลีบแยกลึกเป็น 2 แฉก กลีบข้าง 2 กลีบแผ่เป็นปีกแคบ กลีบล่างแผ่เป็นปีกกว้าง ปลายกลีบเว้าเป็น 2 พู เกสรตัวผู้มัดรวมกันลักษณะม้วนงอ กลีบรองกลีบดอกเป็นรูปถ้วยปากบาน ส่วนโค้งเป็นถุง มีงวงน้ำหวานขนาดสั้นอยู่ท้ายสุด บริเวณที่ติดกับก้านดอกพองออกเป็นปีกโค้งกลม ๆ 2 ปีก ก้านดอกยาวได้ถึง 6 ซม.           แหล่งกำเนิดและแพร่กระจาย
เป็นพันธุ์ไม้หายากชนิดหนึ่ง พบขึ้นตามใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในป่าดิบเขาหรือบริเวณโขดหินปูนที่อยู่สูง จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,500-1,800 เมตร และพบได้เพียงที่เดียวคือที่ดอยหลวงเชียงดาว ดอกจะบานราวเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน คนทั่วไปจึงไม่มีโอกาสได้เห็นเพราะอยู่บนภูเขาสูง และดอกเทียนนกแก้วมักขึ้นในพื้นที่ที่เป็นโขดหิน ใกล้ ๆกับต้นหานช้างร้องที่เป็นพิษอกดอกในราวเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนธันวาคม ผลเป็นฝักยาวรูปกระสวย มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก

         ที่มา : https//th.wikipedia.orq
วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
Posted by phattarawan
ดอกกาสะลองคำ
   ชื่อ สามัญ Tree Jasmine ชื่อวิทยาศาสตร์ Radermachera ignea (Kurz) Steenis วงศ์ BIGNONIACEAE ชื่ออื่น กากี (สุราษฎร์ธานี), กาซะลองคำ (เชียงราย), แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น (ลำปาง), จางจืด (เชียงใหม่), สะเภา อ้อยช้าง (ภาคเหนือ) ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 6–20 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบแหลม ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก เมื่อแก่แตกเป็นสองซีกเมล็ดมีปีก ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และแยกหน่อ สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย ถิ่นกำเนิด ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ

             ที่มา: https://sites.google.com/site/satrinakhonsawan/mi-dxk/midxk