phattarawan On วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เทียนนกแก้ว
   เทียนนกแก้ว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Impatiens psittacina; อังกฤษ: parrot flower) อยู่ในวงศ์ Balsaminaceae อันดับ Ericales เป็นดอกไม้ที่แปลกตามาก เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นของไทย หาไม่ได้จากที่ใด ๆ ในโลก จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับวงศ์เทียน มีรูปทรงของดอกที่สวยงามเหมือนนกแก้วที่โดนแมวกัดไปครึ่งตัว เราเรียกชื่อตามลักษณะรูปทรงว่า ดอกเทียนนกแก้ว จัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุกและเป็นพรรณไม้เมืองหนาว
         ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้นอวบน้ำ สูง 0.5-1.5 เมตร ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี สูง 30-150 ซม. ลำต้นกลวงและเป็นข้อปล้อง แตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นอ่อนสีม่วงอมแดงและอวบน้ำ ลำต้นแก่สีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่  ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้นเป็นเกลียว รูปใบหอก หรือรูปไข่กว้าง กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-6 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นหนามแหลมสั้น โคนใบมน ผิวใบเรียบ ออกดอกเดี่ยวตามก้านใบและปลายยอด ดอกมีรูปร่างคล้ายนกแก้วกำลังกางปีกบินดูสวยงามสะดุดตา ขนาดดอก 2-3 ซม. ดอกสีม่วงแกมแดงและขาว หรือสีชมพูเข้มแกมแดงและขาว กลางดอกมีแต้มสีเหลือง ดอกเป็นรูปหลอดกว้าง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สีชมพูอมขาวและมีจุดประสีม่วงแดง กลีบบนรูปขอบขนานมีขนาดยาวที่สุด ปลายกลีบแยกลึกเป็น 2 แฉก กลีบข้าง 2 กลีบแผ่เป็นปีกแคบ กลีบล่างแผ่เป็นปีกกว้าง ปลายกลีบเว้าเป็น 2 พู เกสรตัวผู้มัดรวมกันลักษณะม้วนงอ กลีบรองกลีบดอกเป็นรูปถ้วยปากบาน ส่วนโค้งเป็นถุง มีงวงน้ำหวานขนาดสั้นอยู่ท้ายสุด บริเวณที่ติดกับก้านดอกพองออกเป็นปีกโค้งกลม ๆ 2 ปีก ก้านดอกยาวได้ถึง 6 ซม.           แหล่งกำเนิดและแพร่กระจาย
เป็นพันธุ์ไม้หายากชนิดหนึ่ง พบขึ้นตามใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในป่าดิบเขาหรือบริเวณโขดหินปูนที่อยู่สูง จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,500-1,800 เมตร และพบได้เพียงที่เดียวคือที่ดอยหลวงเชียงดาว ดอกจะบานราวเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน คนทั่วไปจึงไม่มีโอกาสได้เห็นเพราะอยู่บนภูเขาสูง และดอกเทียนนกแก้วมักขึ้นในพื้นที่ที่เป็นโขดหิน ใกล้ ๆกับต้นหานช้างร้องที่เป็นพิษอกดอกในราวเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนธันวาคม ผลเป็นฝักยาวรูปกระสวย มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก

         ที่มา : https//th.wikipedia.orq

Leave a Reply

Subscribe to Posts | Subscribe to Comments