Archive for กุมภาพันธ์ 2016

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
Posted by phattarawan
พิทูเนีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Petunia hybrida
 วงศ์ : Solanaceae
 ชื่อสามัญ : Petunia
 ชื่ออื่น ๆ : พิทูเนีย
     ข้อมูลทั่วไปและประวัติ
     พิทูเนีย มีถิ่นกำเนิดที่ อเมริกาใต้ ในต่างประเทศเป็นที่นิยมปลูกกันมาก ในอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว (ในอเมริกาไม้ดอกที่นิยมปลูกกันมากที่สุด ได้แก่ พิทูเนีย ดาวเรือง และบานชื่น ) พิทูเนียเป็นไม้หลายฤดู มีความทนทาน มีชีวิตยืนยาว สามารถออกดอกได้หลายชุด
     ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    พิทูเนียเป็นไม้ดอกหลาย ฤดู แต่ในขณะนี้นิยมปลูกพิทูเนียให้เป็นไม้ฤดูเดียว มีพุ่มต้นเตี้ย และค่อนข้างไปทางเลื้อยเป็นไม้เนื้ออ่อนลำต้น สูงประมาณ 30 ซม. ใบคล้ายใบยาสูบ แต่มีขนาดเล็กกว่า ใบกว้างประมาณ 5 ซม. ยาว 8-10 ซม. มีขนอยู่ทั่วใบตามใบ ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกมีรูปร่างเป็นรูปกรวย ดอกมีทั้งชนิดดอกเดี่ยวหรือ ดอกซ้อน กลีบรองดอก แยกเป็น 5 แฉก มีคอดอก ยาว

          ที่มา : natres.psa.ac.th/
Posted by phattarawan
ดอกผีเสื้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dianthus chinensis
 วงศ์ : Caryophyllaceae
 ชื่อสามัญ : Dianthus
 ชื่ออื่น ๆ : Pink, Indian pink, China pink, Rainbow pink, ผีเสื้อ
    ข้อมูลทั่วไปและประวัติ
   ผีเสื้อเป็นไม้ดอกสกุลเดียวกับ คาร์เนชั่น มีดอกสวยงามสะดุดตา โดยมีถิ่นกำเนิดในยุโรปตอนใต้ ส่วนใหญ่มีดอกสีชมพู จึงได้ชื่อว่า pink
ผีเสื้อ กับ คาร์เนชั่น นั้นมีข้อแตกต่างที่พอจะใช้สังเกตได้คือ
 1.ดอกผีเสื้อไม่มีกลิ่น
 2.ใบของผีเสื้อมีแผ่นใบกว้างกว่า ของคาร์เนชั่น
 3.ใบของคาร์เนชั่นมีสีเขียวอมเทาเงิน
   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
   ผีเสื้อ นั้นลักษณะโดยทั่วไป สูงประมาณ 10-15 นิ้ว ขึ้นเป็นพุ่ม ใบมีสีเขียวแก่ ลักษณะใบยาวปลายเรียวแหลม ขอบใบทั้งสองข้างมักจะโค้งเข้าหากลางใบเล็กน้อย ทำให้มีลักษณะคล้ายร่องน้ำ ใบจะออกเป็นคู่แบบสลับ โดยใบจะหุ้มรอบข้อทำให้ส่วนข้อมีลักษณะบวมโต ดอกมีทั้งชนิดดอกซ้อนและดอกชั้นเดียว ปลายกลีบดอกจะมีลักษณะจัก ๆ คล้ายฟันปลาหรือ ฟันเลื่อย กลีบหุ้มดอก มีลักษณะรวมติดกันเป็นกรวยหุ้มกลีบดอกไว้ ดอกมีขนาดตั้งแต่ 2.5-3 นิ้ว สีของดอกมีหลายสี คือ ขาว ชมพู แดง แดงอมม่วง และอาจมีสองสีในดอกเดียวกันก็ได้

       ที่มา : natres.psa.ac.th/
Posted by phattarawan
ลิลลี่
  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lilium spp.
  ข้อมูลทั่วไปและประวัติ
 ลิลี่เป็นดอกไม้เมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดในจีน และตอนเหนือของญี่ปุ่น เป็นไม้ที่มีดอกสวยงามมากจนได้รับสมญานามว่า เป็นดอกไม้ของเจ้าหญิง ลิลี่พันธุ์ที่มีสีขาวบริสุทธิ์นั้นเป็นดอกไม้ที่มีความหมายในเทศกาลอีสเตอร์ช่วงเดือนเมษายน เราจึงเรียกลิลี่ในกลุ่มนี้ว่า อีสเตอร์ลิลี่ หรือ ทรัมเปตลิลี่
  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 ลิลี่เป็นไม้ดอกที่มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน หัวของลิลี่ คือ ส่วนลำต้นที่อัดตัวกันแน่น ประกอบด้วยฐานของหัว ลักษณะเป็นแผ่นแบน ๆ ด้านบนเป็นกลีบเรียงซ้อนกันเป็นชั้นคล้ายกลีบหอมหัวใหญ่ ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหาร ด้านล่างของฐานจะมีรากงอกออกมา หัวของลิลี่จะเจริญเติบโตและเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปีจะสร้างจุดเจริญใหม่ภายในหัว เมื่อหัวพัฒนาเต็มที่และ ได้ผ่านช่วงฤดูหนาวเกิดการทำลายการฟักตัวของหัว ยอดใหญ่จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นเหนือดิน และส่วนยอดะสร้างช่อดอก ซึ่งดอกจะมีกลีบดอก 6 กลีบ แยกออกจากกัน มีเกสรตัวผู้ชูขึ้นอยู่ใจกลางดอก ลิลี่นั้นมีหลายสี มีทั้งสีขาว ชมพู ส้ม แดง ม่วง และมีสองสีในดอกเดียวกัน นอกจากนี้บางพันธุ์ยังมีจุดประบนกลีบดอกอีกด้วยซึ่งได้รับความนิยมมาก ดอกจะบานได้ 2-4 วัน

   ที่มา : natres.psa.ac.th/
Posted by phattarawan
ดอกคาร์เนชั่น
 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dianthus caryophyllus
 วงศ์ : Caryophyllaceae
 ชื่อสามัญ : Carnation
 ชื่ออื่น ๆ : คาร์เนชั่น
    คาร์เนชั่นมีถิ่นกำเนิดในยุโรปตอนใต้ คาร์เนชั่นที่นำเข้าส่วนใหญ่ปลูกในเรือนกระจก
ทั้งสิ้น ใช้ทำเป็นไม้ตัดดอกได้เป็นอย่างดี ให้จำนวนดอกต่อต้นนับเป็นที่ 2 รองจากกุหลาบ 
การปลูกคาร์เนชั่นแต่ละครั้งอาจจะอยู่ได้เพียงฤดูเดียวหรือหลายฤดูก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
สถานที่และการปลูกปฏิบัติรักษา บางแห่งอาจจะปลูกได้เพียงฤดูเดียว บางแห่งอาจจะ
ปลูกแล้วเก็บเกี่ยวได้นานถึง 2 -3 ปี ซึ่งตามปกติแล้วเป็นการปลูกคาร์เนชั่นในเรือนกระจก
   ลักษณะทั่วไป     เป็นไม้ดอกล้มลุก ลำต้นแตกกิ่งก้าน ใบรูปแถบเรียวยาว สีเขียวเข้มอมฟ้า 
โคนใบหุ้มข้อโป่งพองเล็กน้อย ดอกมีทั้งชนิดดอกเดี่ยวและดอกช่อ กลีบรองดอกสีเขียว 
รูปถ้วย กลีบดอกซ้อนฟู ขอบกลีบหยักเป็นแฉก สีขาว ชมพู เหลือง ส้ม แดง และขลิบขอบ
สีต่างๆ ดอกมีทั้งชนิดดอกซ้อนและดอกชั้นเดียว ปลายกลีบดอกจะมีลักษณะหยัก ๆ คล้าย
ฟันเลื่อย กลีบหุ้มดอก มีลักษณะรวมติดกันเป็นกรวยหุ้มกลีบดอกไว้ ดอกมีขนาดตั้งแต่ 
1.5 - 3 นิ้ว สีของดอกมีหลายสี คือ ขาว แดง แดงอมอม่วง และอาจจะมี 2 สีในดอกเดียวกัน

     ที่มา: student.nu.ac.th/sanqtawan/ดอกคาร์เนชั่น.html
Posted by phattarawan
ชมพูภูคา

   ชมพูภูคา:ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bretschneidera sinensis Hemsl.: ชื่อวงศ์ : BRETSCHNEIDERACEAE 
   ชมพูภูคา เป็นพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ที่มีดอกสีชมพูอมขาวงดงาม ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้ ชมพูภูคา เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  ชมพูภูคา เป็นไม้ต้นสูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกเรียบสีเทา ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ยาว 30-80 เซนติเมตร ใบย่อยไม่มีก้านใบ รูปหอกถึงรูปไข่ กว้าง 2.5-6 เซนติเมตร ยาว 8-25 เซนติเมตร โคนใบมนไม่เท่ากัน ปลายใบแหลม ดอก สีชมพู คล้ายรูประฆัง ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร กลีบรองดอกขนาดใหญ่ รูปถ้วยขอบหยักตื้นๆ กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กว้าง โคนกลีบเรียวยาว ปลายกลีบม้วนออกด้านนอก ขนาด 1.8-2 เซนติเมตร กลีบบนมักคว่ำลง เกสรผู้ 8 อัน ผล รูปกระสวย แก่แล้วแตก เมล็ด รูปรี กว้าง 12 มิลลิเมตร ยาว 20 มิลลิเมตร ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,980 เมตร ดอยภูคานับเป็นยอดดอยที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของเทือกเขาหลวงพระบางและเป็นยอดดอยที่สูงในลำดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งจากสภาพดังกล่าวนี้ทำให้เทือกดอยภูคา มีลักษณะโดดเด่น ในด้านระบบนิเวศของพืชพรรณภูเขาสูงอันอุดมไปด้วยป่าดงดิบเขา ป่าดงดิบชื้น รวมทั้งป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง อีกทั้งเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำน่านอีกด้วย พันธุ์ไม้ที่สำคัญที่สุดและพบเพียงแห่งเดียวในโลกที่นี่คือ ชมพูภูคา ซึ่งเป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย และเป็นพันธุ์ไม้หายาก ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก โดยเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา มีรายงานว่าพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ ที่มณฑลยูนานประเทศจีน แต่ปัจจุบันคาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว
     สำหรับในประเทศไทยมีรายงานการสำรวจพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้เมื่อมี พ.ศ. 2532 บริเวณป่าดงดิบเขาดอยภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยลักษณะต้นชมพูภูคานี้จะสูงประมาณ 25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 50 เซนติเมตร เปลือกเรียบเป็นสีเทา ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวมีใบย่อยรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบแหลมยาว แผ่นใบด้านล่างมีนวลสีขาว ช่อดอกตั้งตรงแยกแขนงออกตามปลายกิ่งกลีบเลี้ยงติดกันคล้ายรูประฆัง กลีบดอกสีชมพูมีริ้วสีแดง ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลคล้ายมะกอกแต่มีขนาดใหญ่กว่า พันธุ์ไม้ชนิดนี้จากการศึกษาพบว่าจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณป่าดงดิบเขาตามไหล่เขาสูงชันที่มีความสูงตั้งแต่ 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป และมีความชื้นของอากาศสูงอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างต่ำตลอดทั่งปี ปัจจุบันได้มีการทดลองเพาะกล้าไม้ชมพูภูคาจากเมล็ดเป็นผลสำเร็จซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ชมพูภูคาไม่สูญพันธุ์จากโลกนี้ต่อไป
     ชมพูภูคา พันธุ์ไม้ใกล้สูญพันธุ์ของโลก ซึ่งพบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน

     ที่มา: www.oceansmile.com/n/nan/chophuphuka.th
วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
Posted by phattarawan
เทียนนกแก้ว
   เทียนนกแก้ว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Impatiens psittacina; อังกฤษ: parrot flower) อยู่ในวงศ์ Balsaminaceae อันดับ Ericales เป็นดอกไม้ที่แปลกตามาก เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นของไทย หาไม่ได้จากที่ใด ๆ ในโลก จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับวงศ์เทียน มีรูปทรงของดอกที่สวยงามเหมือนนกแก้วที่โดนแมวกัดไปครึ่งตัว เราเรียกชื่อตามลักษณะรูปทรงว่า ดอกเทียนนกแก้ว จัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุกและเป็นพรรณไม้เมืองหนาว
         ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้นอวบน้ำ สูง 0.5-1.5 เมตร ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี สูง 30-150 ซม. ลำต้นกลวงและเป็นข้อปล้อง แตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นอ่อนสีม่วงอมแดงและอวบน้ำ ลำต้นแก่สีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่  ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้นเป็นเกลียว รูปใบหอก หรือรูปไข่กว้าง กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-6 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นหนามแหลมสั้น โคนใบมน ผิวใบเรียบ ออกดอกเดี่ยวตามก้านใบและปลายยอด ดอกมีรูปร่างคล้ายนกแก้วกำลังกางปีกบินดูสวยงามสะดุดตา ขนาดดอก 2-3 ซม. ดอกสีม่วงแกมแดงและขาว หรือสีชมพูเข้มแกมแดงและขาว กลางดอกมีแต้มสีเหลือง ดอกเป็นรูปหลอดกว้าง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สีชมพูอมขาวและมีจุดประสีม่วงแดง กลีบบนรูปขอบขนานมีขนาดยาวที่สุด ปลายกลีบแยกลึกเป็น 2 แฉก กลีบข้าง 2 กลีบแผ่เป็นปีกแคบ กลีบล่างแผ่เป็นปีกกว้าง ปลายกลีบเว้าเป็น 2 พู เกสรตัวผู้มัดรวมกันลักษณะม้วนงอ กลีบรองกลีบดอกเป็นรูปถ้วยปากบาน ส่วนโค้งเป็นถุง มีงวงน้ำหวานขนาดสั้นอยู่ท้ายสุด บริเวณที่ติดกับก้านดอกพองออกเป็นปีกโค้งกลม ๆ 2 ปีก ก้านดอกยาวได้ถึง 6 ซม.           แหล่งกำเนิดและแพร่กระจาย
เป็นพันธุ์ไม้หายากชนิดหนึ่ง พบขึ้นตามใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในป่าดิบเขาหรือบริเวณโขดหินปูนที่อยู่สูง จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,500-1,800 เมตร และพบได้เพียงที่เดียวคือที่ดอยหลวงเชียงดาว ดอกจะบานราวเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน คนทั่วไปจึงไม่มีโอกาสได้เห็นเพราะอยู่บนภูเขาสูง และดอกเทียนนกแก้วมักขึ้นในพื้นที่ที่เป็นโขดหิน ใกล้ ๆกับต้นหานช้างร้องที่เป็นพิษอกดอกในราวเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนธันวาคม ผลเป็นฝักยาวรูปกระสวย มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก

         ที่มา : https//th.wikipedia.orq
วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
Posted by phattarawan
ดอกกาสะลองคำ
   ชื่อ สามัญ Tree Jasmine ชื่อวิทยาศาสตร์ Radermachera ignea (Kurz) Steenis วงศ์ BIGNONIACEAE ชื่ออื่น กากี (สุราษฎร์ธานี), กาซะลองคำ (เชียงราย), แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น (ลำปาง), จางจืด (เชียงใหม่), สะเภา อ้อยช้าง (ภาคเหนือ) ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 6–20 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบแหลม ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก เมื่อแก่แตกเป็นสองซีกเมล็ดมีปีก ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และแยกหน่อ สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย ถิ่นกำเนิด ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ

             ที่มา: https://sites.google.com/site/satrinakhonsawan/mi-dxk/midxk
Posted by phattarawan
กุหลาบพันปี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhododendron moulmeinene Hook
วงศ์ ERICACEAE
ถิ่นกำเนิด จีนตอนใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ลาว และเวียดนาม
แสงแดด แดดร่มรำไร
อุณหภูมิ 14-18 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นปานกลาง
น้ำ ชอบน้ำมากแต่ไม่ขังแฉะ
การดูแล อาซาเลียเป็นพืชชอบน้ำ เครื่องปลูกจะต้องมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่ไม่ขังแฉะ 
การปลูก เครื่องปลูกจะต้องอุ้มน้ำได้ดี ร่วนซุย แต่ต้องระบายน้ำได้ดีเช่นกัน ถ้าเครื่องปลูกแน่นมาก รากจะชอนไชในเนื้อดินหรือเครื่องปลูกไม่ได้ทำให้ไม่เจริญเติบโต ควรใช้ดินร่วนผสมกับแกลบ ขุยมะพร้าว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักเป็นเครื่องปลูก
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่งและเพาะเมล็ด
อัตราการคายความชื้น น้อย
อัตราการดูดสารพิษ ปานกลาง
    กุหลาบพันปีเป็นต้นไม้ที่เติบโตอยู่บนที่สูงและชอบอากาศหนาวเย็น สำหรับในเมืองไทยพบได้ตามยอดเขาสูงแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการนำกุหลาบพันปีมาปลูกเป็นไม้ประดับประปราย โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวเนื่องจากมีดอกที่สวยงาม และเมื่อหมดดอกก็จะเติบโตในกระถางได้แต่จะออกดอกน้อยลง เมื่อพ้นฤดูหนาว
     กุหลาบพันปีเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 2-6 ซม. แผ่นใบเหนียวหนา มีขนประปรายทั้ง 2 ด้าน ดอกสีแดงแกมส้ม ออกเป็นช่อที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง จำนวน 2-7 ดอก กลีบรองดอกรูปถ้วยตื้น ปลายแยก 5 แฉก ด้านนอกมีขน กลีบดอกรูปกรวย ยาว 2-3 ซม. ปลายแยก 5 แฉก เกสรตัวผู้ 10 อัน ผลรูปไข่ ยาว 1-1.5 ซม. มีขนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่แตกตามยาว เมล็ดแบน ขนาดเล็ก มีปีกบางใสจำนวนมาก
      กุหลาบพันปีเป็นพืชที่ชอบน้ำ เครื่องปลูกจะต้องมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่ไม่ขังแฉะ ถ้าหากปล่อยให้เครื่องปลูกแห้ง อาจจะทำให้ตายได้ เนื่องจากว่ารากของอาซาเลียมีขนาดเล็กมาก และถ้าหากสูญเสียน้ำมากอาจจะทำให้รากแห้งตาย และมีผลต่อการเจริญเติบโตได้
    การปลูกกุหลาบพันปีภายในอาคารนอกจากความสวยงามของดอกที่จะสร้างบรรยากาศให้กับห้องแล้วกุหลาบพันปียังมีคุณสมบัติในการดูดสารพิษได้ดีอีกด้วย

      ที่มา : http://www.panmai.com/Pollution/Pollution_25.shtml
Posted by phattarawan
กุหลาบหิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Kalanchoe Blossfeldiana
วงศ์ CRASSULACEAE
ถิ่นกำเนิด มาดากาสการ์
แสงแดด แดดจัด
อุณหภูมิ 18-24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นปานกลาง
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง
การดูแล กุหลาบหินจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะทยอยบานนาน 2-3 เดือน แม้ดอกจะเล็กแต่สีสันสะดุดตามาก กุหลาบหินถ้าปลูกในร่มใบจะเขียวเข้มและไม่ค่อยออกดอกเพราะชอบแดดจัด จึงควรตั้งไว้ในที่แสงอย่างเพียงพอหรือแสงแดดส่องถึง ให้น้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ก็เพียงพอ ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรดในช่วงที่กำลังออกดอก
การปลูก เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกในที่แสงแดดจัด ปลูกเป็นไม้ประดับได้ทั้งกลางแจ้งและปลูกเป็นไม้กระถางภายในอาคาร กุหลาบหินปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ส่วนผสมดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการปักชำยอดหรือปักชำใบหรือเพาะเมล็ด
อัตราการคายความชื้น น้อย
อัตราการดูดสารพิษ น้อย
      กุหลาบหินเป็นไม้ประดับกระถางที่ปลูกง่าย ปลูกได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร แต่เจริญเติบโตได้ดีเมื่ออยู่กลางแจ้งเพราะเป็นพืชที่ชอบแดด จุดเด่นของกุหลาบหินอยู่ที่ดอกมีสีสันจัดจ้านสวยงาม
      กุหลาบหินเป็นไม้อวบน้ำอายุหลายปี มีพุ่มเตี้ยสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใบเดี่ยวสีเขียว ค่อนข้างกลม ปลายมน ขอบใบหยักเป็นมน ออกเวียนสลับซ้อนๆ กันคล้ายกุหลาบแต่ไม่อ่อนช้อยจึงได้ชื่อว่ากุหลาบหิน ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกชูสูงเหนือพุ่มใบ เป็นดอกย่อยขนาดเล็กๆ จำนวนมาก ดอกมีสี ต่างๆ เช่น ชมพู ส้ม เหลือง ฯลฯ
       กุหลาบหินเป็นพืชที่เลี้ยงง่าย แตกหน่อไว ถ้าขยันแยกหน่อกุหลาบหินจะเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น อย่างไรก็ตามกุหลาบหินเป็นไม้ประดับที่น่าสนใจที่รูปทรงดูสวยแปลกตาแตกต่างจากไม้ชนิดอื่น ถึงแม้จะมีความสามารถในการดูดสารพิษได้น้อยก็ตาม

        ที่มา: http://www.panmai.com/Pollution/Pollution_50.shtml


วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
Posted by phattarawan

ไซคลาเมน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyclamen spp.
วงศ์ PRIMULACEAE
ถิ่นกำเนิดตอนเหนือของทวีปแอฟริกาและบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
แสงแดด แสงแดดรำไร
อุณหภูมิ 16-20 องศาเซลเซียส
ความชื้น สามารถอยู่ได้ทั้งในที่ค่อนข้างแห้งแล้งและที่มีความชุ่มชื้นน้ำ ต้องการน้ำปานกลาง
การดูแล ชอบอากาศเย็นจึงจะเจริญงอกงามดี ปลูกไว้ในที่แสงแดดรำไร ไม่ควรรดน้ำมาก คอยดูว่าดินแห้งก่อนค่อยรดน้ำได้ให้รดน้ำบริเวณด้านข้างอย่ารดน้ำลงตรงกลางของต้นเพราะจะทำให้หัวของต้นไม้เน่าได้ง่าย 
การปลูก ดินปลูกควรเป็นดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดีไม่ขังแฉะ
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ดและแยกหัว
อัตราการคายความชื้น น้อย
อัตราการดูดสารพิษ น้อย
      ไซคลาเมนเป็นไม้ดอกเมืองหนาวที่มีดอกและใบสวยงาม พบกระจายพันธุ์แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนฝั่งทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ซึ่งแม้จะเป็นไม้เมืองหนาวที่ไม่เหมาะกับการนำมาปลูกในสภาพอากาศที่ร้อนของเมืองไทย แต่หากปลูกเลี้ยงดูแลให้อยู่ในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสม รวมถึงการเอาใจใส่เป็นอย่างดี ก็สามารถเจริญงอกงามและออกดอกสวยๆ มาให้ชื่นชมได้
    ไซคลาเมนมีลำต้นเป็นหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน เป็นไม้ผลัดใบ ใบและช่อดอกจะแตกจากตาอ่อนซึ่งอยู่ด้านบน ดอกของไซคลาเมนมีลักษณะเด่นคือกลีบดอกจะกระดกกลับขึ้นไปด้านบน ส่วนมากดอกมีสีอยู่ในโทนสีชมพู แดง บานเย็น ม่วงหรือขาว ออกดอกได้ตลอดทั้งปี
    ไซคลาเมนเจริญงอกงามได้ดีในที่อากาศเย็นและมีอากาศถ่ายเท ถ้าเลี้ยงในห้องแอร์ ควรอยู่ในบริเวณที่รับแสงสว่างมากหรือในบางกรณีถ้ามีแสงไฟที่เพียงพออาจทดแทนแสงแดดได้ ไม่ควรรดน้ำมาก คอยดูว่าดินแห้งก่อนค่อยรดน้ำ ให้รดน้ำบริเวณด้านข้าง อย่ารดน้ำลงตรงกลางของต้นเพราะจะทำให้หัวของต้นไม้เน่าได้ง่าย

     ที่มา : http://www.panmai.com/Pollution/Pollution_44.shtml
Posted by phattarawan
                                                                       
                                                                   ดอกเดซี่
       เดซี่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thymophylia Tenuiloba (DC.) Small จัดอยู่ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) ชื่อสามัญที่เราเรียกทั่วไปก็มีทั้ง Dahlberg Daisy, Gold Carpet, Gloden Fleece แต่หลักแล้วเรียกเดซี่ Daisy ถิ่นกำเนิดอยู่ที่เม็กซิโกและรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา มีทั้งดอกสีขาว สีเหลือง โดยนักพฤกษาวิทยารู้จักและพบครั้งแรกที่ตำบลเล็ก ๆ ในประเทศเม็กซิโก เป็นสัญลักษณ์แทนหัวใจอันบริสุทธิ์และไร้เดียงสา โดยหญิงสาวที่ตกอยู่ในห้วงแห่งความรักมักจะใช้ดอกเดซี่มาเด็ดกลีบเพื่อทำนายรักไม่รักเดซี่ขยายพันธุ์ได้เร็วมากพบได้ตามสนามหญ้าที่พบส่วนใหญ่จะมีกลีบสีขาว เกสรสีเหลือง บานในช่วงเช้าเท้านั้น ชาวอังกฤษเรียกเดซี่ว่า “เดส์ อาย” (Day’s Eye) หรือที่แปลว่าดวงตาของกลางวัน และเรียกเพี้ยนมาเรื่อย ๆ จนเป็นเดซี่
          ลักษณะทั่วไป : มีอายุสั้น ต้นเป็นพุ่ม 15-20 เซนติเมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามแผ่นใบหยักลึกตามแนวเส้นใบคล้ายผักชีสีเขียวอ่อนมีกลิ่นฉุน ช่อดอกเป็นช่อกระจุกแน่นออกที่ปลายยอด ดอกวงนอกมี กลีบดอกชั้นเดียว สีเหลือง ดอกวงในสีเหลืองเข้มเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 เซนติเมตร เมล็ดมีขนาดเล็ก อายุดอกอยู่ได้ประมาณ 60 วัน
          การขยายพันธุ์ : นิยมขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดปลูกได้ตลอดทั้งปีทนร้อนได้ดีมาก ปลูกประดับแปลงหรือปลูกลงในกระถาง
          การดูแลรักษา : สำหรับปลูกลงแปลง ปลูกลงกระถาง หรือปลูกคลุมดิน ควรย่อยดินให้ละเอียด อีกทั้งต้องเป็นดินที่ไม่อุ้มน้ำมากเกินไปนัก ต้องร่วนปนทราย รดน้ำตอนเช้า เพียงหนึ่งครั้งต่อวัน เพราะไม่ต้องการความชื้นมาก ชอบแสงแดดเต็มวัน-ครึ่งวัน การตัดแต่งควรตัดดอกที่โรยออกจากต้นเพื่อให้แตกยอดใหม่และเกิดดอกใหม่อีกครั้ง

          ที่มา:http://home.kapook.com/view91812.html
Posted by phattarawan

                                                                   ดอกบัวตอง              
                                                   
        บัวตอง (อังกฤษ: Tree marigold, Mexican tournesol, Mexican sunflower, Japanese sunflower, Nitobe chrysanthemum; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tithonia diversifolia (Hemsl.) A.Gray.) เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโก เป็นไม้ดอกมีอายุยืนยาวหลายปี สามารถสูงได้ถึง 5 เมตร ออกดอกเป็นช่อเดียว บริเวณปลายกิ่ง มีสีเหลืองคล้ายดอกทานตะวัน แต่มีขนาดเล็กกว่า ดอกวงนอกเป็นหมัน กลีบเรียวมีประมาณ 12–14 กลีบ ดอกวงในสีเหลืองส้มเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ใบของบัวตองเป็นใบเดี่ยว รูปไข่หรือแกมขอบขนาน มีขนขึ้นเล็กน้อยประปราย บริเวณ ปลายใบเว้า มีขนขึ้นเล็กน้อยประปราย ปลายใบเว้าลึก 3–5 แฉก ชอบขึ้นในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น จะออกดอกสวยงามที่สุดบนยอดดอยที่สูงกว่า 800 เมตรขึ้นไป โดยจะออกดอกในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมเท่านั้น ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
          ในประเทศไทย บัวตองมิใช่เป็นพืชพื้นเมือง แต่มีสถานที่ที่มีดอกบัวตองขึ้นอย่างงดงามกว้างขวางเป็นทุ่งและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ดอยแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีที่มาจากการที่บาทหลวงชาวเม็กซิโกผู้หนึ่งนำมาปลูก และต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่กลายมาเป็นทุ่งบัวตองอย่างในปัจจุบัน และถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
       
         ที่มา:https:https://th.wikipedia.org/wiki/บัวตอง
Posted by phattarawan

                                                                         กุหลาบ 
                                                   
       กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดประมูลอัลสเมีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง 1,672 ล้านดอก และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ โดยประเทศที่ปลูกกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเว เบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้น 
            กุหลาบสามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต ขนาดดอก สีดอก ความสูงต้น และจำแนก ตามลักษณะของดอก เป็นต้น ในที่นี้ได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ทางการค้าในตลาดโลกเป็น 5 ประเภทดังนี้ 
1.กุหลาบดอกใหญ่ หรือ กุหลาบก้านยาว (large flowered or long stemmed roses 
2.กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง (medium flowered or medium stemmed roses) 
3.กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น (small flowered or short stemmed roses) สด 
4.กุหลาบดอกช่อ (spray roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ให้ผลผลิตต่ำต่อพื้นที่ (120-160 ดอกต่อตารางเมตรต่อปี) ความยาวก้านระหว่าง 40-70 ซม. มักมี 4-5 ดอกในหนึ่งช่อ และยังมีตลาดจำกัดอยู่ เช่นพันธุ์ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น 
5.กุหลาบหนู (miniature roses) มีขนาดเล็กหรือแคระโดยธรรมชาติ ความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 1 ฟุตให้ผลผลิตสูง 450-550 ดอก/ตร.ม./ปี มีความยาวก้านดอกระหว่าง 20-30 ซม. ยังมีตลาดจำกัดอยู่ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ และอิตาลี
       
           ที่มา:https://sites.google.com/site/satrinakhonsawan/mi-dxk/midxk
Posted by phattarawan
                                                               
                                                                   แกลดิโอลัส 
                                                 
             แกลดิโอลัส (อังกฤษ: Gladiolus) จัดเป็นพืชหัว (Corm) เมื่อปลูกแล้วจะเกิดหัวใหม่ขึ้นแทนหัวเก่า สามารถใช้ขยายพันธุ์ ได้ต่อไป และยังมีหัวย่อยเกิดขึ้นอีกมากมาย ปัจจุบันนี้มีการผลิตหัวย่อยได้ผลดีที่ภาคเหนือของประเทศไทย 
              ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
1.แกลดิโอลัส แกรนดิฟลอรัส (Gladiolus grandiflorus) เป็นชนิดต้นใหญ่ ช่อดอกอวบยาว และแข็งแรง ดอกใหญ่เรียงชิดกัน ช่อดอกหนึ่ง ๆ อาจมีดอกถึง 20 ดอก และดอกบานพร้อมกันประมาณ 5-7 ดอก 
2.แกลดิโอลัส พรายมูลินัส (Gladiolus primulinus) เป็นชนิดต้นเล็ก ช่อดอกเล็กยาวเรียว ดอกเล็กเรียงห่างกัน จำ นวนดอกในช่อน้อย มีลักษณะพิเศษคือ กลีบบนชั้นในงุ้มงอปรกเกสร 
3.แกลดิโอลัส ทูเบอเจนนิอาย (Gladiolus tubergenii) เป็นชนิดที่ต้นและดอกเล็ก แต่ดอกในช่อเรียงชิดกันใช้ในการผสมเพื่อผลิตแกลดิโอลัสพันธุ์ดอกจิ๋ว 
4.แกลดิโอลัส โควิลลีอาย (Gladiolus covillei) เป็นลูกผสมระหว่าง แกลดิโอลัส คาร์ดินาลิส (Gladiolus cardinalis) ซึ่งเป็นชนิดที่มีต้นสูงใหญ่ ดอกสีแดง กับแกลดิโอลัส ทริสติส (Gladiolus tristis) ซึ่งเป็นชนิดดอกเล็ก สูงไม่เกิน 60 ซม. ใน 1 ช่อมีเพียง 2-4 ดอก มีสีขาวหรือครีม และมีสีม่วงหรือสีนํ้าตาลปนอยู่เป็นเส้น 
5.แกลดิโอลัส นานุส (Gladiolus nanus) เป็นประเภทหนึ่งของพันธุ์โควิลลีอายที่ต้นมีขนาดเล็ก ช่อดอก
เล็กเรียวยาว ขนาดดอกเล็กบอบบาง มีสองสีในแต่ละกลีบจำ นวนดอกในช่อน้อยและ ดอกจะบานพร้อมกันคราวหนึ่งเพียง 1-2 ดอก ในแต่ละช่อ
           ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/แกลดิโอลัส
Posted by phattarawan

                                                                              รักเร่ 
                                                   
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dahlia spp.
วงศ์ : Compositae
ชื่อสามัญ : Dahlia
ชื่ออื่น ๆ :  รักแรก รักเร่
         รักเร่ เป็นพันธุ์ไม้ดอกที่มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก โคลัมเบีย และทั่วไปในทวีปอเมริกากลาง ดอกมีรูปทรงและสีสรรสวยงามสะดุดตา ก้านดอกแข็งแรง นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก เช่นเดียวกับกุหลาบ แต่ในประเทศไทยไม่นิยมปลูก เนื่องมาจากมีชื่อที่ไม่เป็นมงคล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ รักเร่เป็นไม้พุ่ม รากมีลักษณะคล้ายหัว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ดอกเป็นแบบเดียวกับเบญจมาศ ก้านดอกยาวแข็งแรง กลีบดอก แบ่งออกเป็น 2 ตอน กลีบดอกชั้นนอกนี้แผ่กว้างออก หรืออาจจะห่อเป็นหลอดก็ได้แล้วแต่ชนิดของดอก มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลีบรองดอก ด้านในเป็นแผ่นบาง ๆ เรียงกันเป็นระเบียบติดอยู่กับฐานของดอก ส่วนกลีบรองดอกด้านนอบเล็กกว่าด้านใน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ ดอกมีหลายสี เช่น ชมพู น้ำเงิน ขาว แดง แสด ส้ม ม่วง และเหลือง เป็นต้น การดูแล และการขยายพันธ์ รักเร่ชอบขึ้นในที่กลางแจ้งแดดจัด แต่มีความชื้นพอเพียง ควรปลูกในดินที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี บางครั้งจำเป็นต้องหาวัสดุคลุมดินให้รักเร่ เช่น ฟาง ใบไม้แห้ง หรือเปลือกถั่ว เป็นต้น สำหรับการขยายพันธุ์รักเร่นั้น สามารถเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ต่อกิ่ง หรือใช้ราก เมื่อต้นให้ดอกแล้วต้นจะแก่และโทรมไปในที่สุด โดยจะทิ้งรากที่เป็นหัวไว้ในดิน ให้ตัดต้นเหนือระดับดินประมาณ 3 นิ้ว เพราะส่วนของตาที่จะเจริญเป็นต้นใหม่จะอยู่บริเวณโคนต้น แล้วจึงขุดหัวขึ้นมาจากดิน ประโยชน์ หัวใต้ดิน นำมาต้มกับหมูรับประทานแก้โรคหัวใจ แก้ไข้ต้น น้ำคั้นจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อน ๆ ฆ่าเชื้อ Staphylococcus แต่สำหรับใบรักเร่ บางพันธุ์มีพิษ ไม่นิยมรับประทาน

          ที่มา:https://sites.google.com/site/satrinakhonsawan/mi-dxk/midxk
Posted by phattarawan
                                                                     
       ดอก forget me not

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cynoglossum lanceolatum Forssk.
ลักษณะ : ลำต้นแข็ง สูงประมาณ 0.5-1 เมตร มีกิ่งก้านแตกแขนงรอบลำต้น ใบเล็กเรียว ปลายแหลมโคนมน มีขนอ่อนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกสีน้ำเงินอมฟ้า 5 แฉก ออกตามปลายยอด มีหลายดอกทยอยบาน โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆช่วงเวลาออกดอก  ตุลาคม - ธันวาคม
แหล่งที่พบ : พบตามทุ่งหญ้าโล่ง ระดับความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป
     ดอกไม้ชนิดนี้มีตำนานเกี่ยวข้องกับความทรงจำเกี่ยวกับความรัก…ครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้วในฝรั่งเศส ในสมัยของอัศวินเสื้อเกราะและนางใน อัศวินผู้กล้าหาญ ได้เดินชมจันทร์กับสาวงามนางหนึ่ง ณ ริมฝั่งแม่น้ำ ยอดหญิงของอัศวินได้มองเห็นดอกไม้เล็กๆขึ้นอยู่ริมตลิ่ง เธอวิงวอนให้เขา ลงไปเก็บให้ แต่ขณะที่เขากำลังเอื้อมเก็บดอกไม้ก็พลันลื่นไถลลงไปในแม่น้ำ เสื้อเกราะที่หนักทำให้เขาไม่สามารถว่ายน้ำได้ แต่ก่อนที่เขาจะจมหายไปในกระแสธาร เขาโยนดอกไม้ให้หญิงคนรัก และร้องตะโกนว่า " Ne m'oubliez pas "..อย่าลืมฉัน ดอกไม้ชนิดนี้จึงมีชื่อว่า forget me not ดอกฟอร์เก็ตมีน็อทยังมีความหมายว่ารักแท้ จึงมักปรากฏอยู่เสมอบนการ์ดวาเลนไทน์ที่คู่รักหนุ่มสาวมอบให้แก่กัน

     ที่มา :  http://2npa-sukhothai.blogspot.com/                          

           
Posted by phattarawan
                                                                         
   กุหลาบหนู 


 ชื่อพื้นเมือง : กุหลาบหนู
ชื่อสามัญ : Fairy Rose, Pygmy Rose
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rosa chinensis Jacq. var.minima Voss
ชื่อวงศ์ : ROSACEAE
ชื่ออื่น -
     ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่ม สูง 20 - 50 เซนติเมตร ลำต้นมีหนาม
ใบ เป็นใบประกอบออกสลับ ใบย่อย 5 ใบ เป็นรูปรี ขอบหยัก ปลายแหลม โค้งมน หูใบติดกับก้านใบ สีเขียวสดดอก ดอกมีหลายสี เช่น สีแดง สีขาว สีชมพู และดอกเดียว 2 สี ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ที่ปลายยอดกลีบดอกมีทั้งชั้นเดียวและหลายชั้น มีกลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียแยกที่อยู่กัน ปลายกลีบดอกเป็นสีแดง โคนกลีบดอกเป็นสีขาว เวลาออกดอกบานจะดูสวยงามสดใสมาก ออกดอกตลอดทั้งปี
    การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด การตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง การติดตาและหน่อ
   การกระจายพันธุ์ : กุหลาบหนูเป็นไม้กลางแจ้ง ปลูกได้ทั้งลงดินและปลูกลงกระถาง เป็นไม้ชอบแดดจัด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง
     ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม

     ที่มา : http://www.bloggang.com
Posted by phattarawan
นางพญาเสือโคร่ง


      นางพญาเสือโคร่ง (Wild Himalayan Cherry) หรือดอกซากุระเมืองไทย มีลักษณะและความสวยงามเหมือนกับดอกซากุระของญี่ปุ่นมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วดอกนางพญาเสือโคร่งเป็นดอกไม้คนละสายพันธุ์กันกับดอกซากุระของญี่ปุ่น
       นางพญาเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus Cerasoides) เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ไล่ไปจนถึงทางใต้ของจีน ไต้หวันและประเทศญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบมากที่ภูลมโลจังหวัดเลย ดอยแม่สลองจังหวัดเชียงราย ดอยเวียงแหง ขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่ และอีกหลายยอดเขาในจังหวัดน่าน โดยนางพญาเสือโคร่งมีชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นหลายชื่อ เช่น ฉวีวรรณ ชมพูภูพิงค์ เส่คาแว่ เส่แผ่ แส่ลาแหล และซากุระดอย
       ต้นนางพญาเสือโคร่ง นิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับเป็นหลัก เนื่องจากมีดอกที่สีสันสวยงาม มีหลายสี เช่น สีชมพู สีขาว และสีแดง นอกจากนี้ผลของต้นนางพญาเสือโคร่งยังสามารถรับประทานได้ แต่มีรสเปรี้ยว จึงไม่ค่อยได้รับความนิยม
       ลักษณะทางพันธุศาสตร์
ต้นนางพญาเสือโคร่ง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 10-15 เมตร ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด โดยจะโตเต็มที่เมื่อมีอายุราว 10 ปี มีลักษณะใบเป็นแบบใบเดี่ยว รูปทรงรีและปลายแหลม ยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ส่วนดอกของนางพญาเสือโคร่งที่พบมากจะมีอยู่ 3 สีคือ สีชมพู สีแดง และสีขาว มักออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กเพียง 1-2 เซนติเมตรเท่านั้น ประกอบไปด้วยกลีบดอกจำนวน 5 กลีบ
      ความแตกต่างที่ชัดเจนของต้นนางพญาเสือโคร่งของไทยและต้นซากุระของญี่ปุ่นก็คือช่วงระยะเวลาออกดอก กล่าวคือ ต้นนางพญาเสือโคร่งจะออกดอกในช่วงหน้าหนาวของไทย คือในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ส่วนต้นซากุระญี่ปุ่นจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่นและฤดูร้อนของไทยนั่นเอง

      ที่มา: http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/นางพญาเสือโคร่ง/

ฟาแลนนอปซิสพันธุ์

          ชื่อวิทยาศาสตร์: Phalaenopsis
          ฟาแลนนอปซิสพันธุ์แท้จะมีดอกขนาดค่อนข้างเล็กจึงมีการปลูกเลี้ยงกันไม่มาก แต่ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลฟาแลนนอปซิส ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์จนทำให้ได้ดอกที่สวยงาม ทั้งรูปทรงและสีของดอก เช่น ดอกกลมใหญ่ กลีบดอกหนา ดอกมีหลากหลายสีและมีลวดลายแปลกตา ฟาแลนนอปซิสมีดอกที่สวยงาม เลี้ยงง่าย โตเร็ว อีกทั้งยังสามารถนำมาผสมพันธุ์ได้หลายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นลูกผสมในสกุลฟาแลนนอปซิสด้วยกัน หรือผสมกับสกุลอื่น เช่น สกุลม้าวิ่ง (Doritis) สกุลแวนด้า (Vanda) สกุลรีแนนเธอรา หรือสกุลแมลงปอ (Arachnis) และยังพัฒนาสายพันธุ์เพื่อผลิตเป็นการค้าได้อีก สามารถนำดอกของฟาแลนนอปซิสมาเป็นดอกไม้ประดับแจกันหรือเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญๆจึงทำให้มีผู้คนนิยมปลูกเป็นจำนวนมาก 
             การปลูกเลี้ยงฟาแลนนอปซิส ฟาแลนนอปซิสเป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ใบค่อนข้างหนาซึ่งต้องระวังในเรื่องความชื้นที่มีมากไปก็จะทำให้ต้นและใบ เน่าได้ง่าย สามารถปลูกลงกระถางโดยการปลูกจะต้องให้โคนต้นและรากส่วนบน อยู่เหนือเครื่องปลูกขึ้นมา แต่อยู่ต่ำกว่าระดับขอบกระถาง ซึ่งจะดูสวยงามและป้องกันไม่ให้โคนต้นและโคนใบได้รับความชื้นมากเกินไปจนทำให้เน่า ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกประมาณเดือนมีนาคม หรือก่อนเข้าฤดูฝน เพราะถ้าปลูกหลังจากที่เข้าฤดูฝนแล้วอากาศมีความชื้นสูง อาจทำให้กล้วยไม้อวบน้ำมากเกินไปจนเน่าได้ ดังนั้นจึงต้องควบคุมเรื่องน้ำและความชื้นค่อนข้างมาก หรือบางคนอาจปลูกโดยให้ต้นกล้วยไม้เกาะตอไม้หรือกิ่งไม้ก็สามารถทำได้ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดปัญหาน้ำฝนที่ตกลงมาขังในส่วนโคนต้นและใบได้ เพราะไม่มีเครื่องปลูกที่อมความชื้นไว้ น้ำที่ขังอยู่ที่ใบก็จะระเหยออกไปอย่างรวดเร็ว

             ที่มา:https://sites.google.com/site/satrinakhonsawan/mi-dxk/midxk

ทิวลิป
ชื่อสามัญ : tulip
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tulipa spp. L.
ตระกูล :  Liliaceae
    ทิวลิป (Tulip)เป็นชื่อสามัญของพันธุ์ไม้หัว ที่ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ ถ้าเราจะกล่าวกันถึง ต้นหรือดอก “ทิวลิป”ก็จะเหมือนๆ กับการพูดถึง “กล้วยไม้” หรือ “กุหลาบ” อย่างนั้นเอง เพราะชื่อของทิวลิป กล้วยไม้ และกุหลาบ เป็นคำสามัญนามที่ไม่ได้มีจัดแยกประเภทกันว่า เป็นต้นไม้หรือดอกไม้อย่างไหน พันธุ์ไหน หรือชนิดไหน พันธุ์พืชแต่ละอย่าง หรือแต่ละนามนี้ ต่างก็มีสายพันธุ์ต่างๆ ที่แตกแขนงออกไปเป็นพันธุ์ (Species) เป็นชนิด (Variety)
       ลักษณะ
   ทิวลิปเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รูปใบเล็กเรียวยาว ปลายใบแหลม เส้นแขนงใบจะเป็นแนวขนานไปตามความยาวของใบ และเรียวลู่ไปรวมกันที่บริเวณปลายใบ ใบแต่ละใบจะออกสลับทิศทางตรงข้ามกัน ต้นหนึ่งๆ จะออกใบประมาณ 3-4 ใบ โดยปรกติทิวลิปจะมีขนาดสูงระหว่าง 12-18 นิ้ว ซึ่งก็ต้องแล้วแต่พันธุ์และชนิดของทิวลิปแต่ละอย่าง ดอกของทิวลิปก็เช่นเดียวกัน มีหลายแบบ หลายสี และหลายขนาด แต่โดยปรกติดอกทิวลิปจะเป็นดอกไม้รูปถ้วย ยามบานไม่บานแฉ่ง แต่จะบานเพียงแค่แย้มๆ กลีบออก ให้รู้ว่าเป็นดอกทิวลิปที่บานแล้ว แต่อย่างบายแฉ่งก็มีบ้าง เหมือนกัน เช่น พวกดอกทิวลิปซ้อนหลายๆ ชั้น ปรกติดอกทิวลิปจะมีกลีบดอกซ้อนกันเพียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ กลีบดอกของทิวลิปมีสีสันต่างๆ มากมายหลายเฉดสี นับตั้งแต่สีแสด แดง ส้ม เหลืองเข้ม เหลือง เหลืองอ่อน ชมพู ขาว และสีสลับลายหลายอย่าง มีทั้งสีเดียวล้วนๆ และสีผสมในดอกเดียว หรือที่เรียกว่า ”Broken Tulips” เกสรผู้เป็นสีเหลืองอ่อน หรือขาวเป็นแท่งรูปหัวศรมี 6 เส้น เกสรเมียมีขนาดโตกว่าเกสรผู้ อยู่กึ่งกลางเกสรผู้ เป็นลักษณะแท่งรูปสามเหลี่ยมยาว 2 - 2.5 เซนติเมตร ( ซึ่งมีขนาดยาวไล่เลี่ยกับเกสรผู้ ) ปลายเกสรเมียแต่ละเหลี่ยม งอลงเป็นสามแฉก ส่วนที่ปลายเกสรผู้บางพันธุ์อาจจะเป็นติ่งสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำก็มี
       
       ที่มา:http://viewtulip.blogspot.com/2012/07/tulipa-spp.html